การเรียนรู้แบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การอาชีพและเทคโนโลยี

โดยทีม ศิษย์ครูวัด ป.บัณฑิต รุ่น 6
คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน



ประมาณปี พ.ศ. 2500 คอมพิวเตอร์มีอยู่ในโลกนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องในระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาแพง ส่วนมากจะใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป
ในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้สูงขึ้น เหตุผลที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น คือ



1 . คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยซึ่งสามารถตรวจสอบประ วัติของบุคคลต่างๆได้ เป็นต้น
2 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว งานบางอย่างคอมพิวเตอร์จะทำได้ในพริบตาในขณะที่ถ้าให้คนทำอาจจะต้องใช้เวลานา น
3 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
4 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมทำงานที่ถูกต้อง จะไม่มีการทำงานผิดพลาดขึ้นมา
5 .คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบคนได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น



บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ


บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอน เป็นต้น ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดจน ช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผน และควบคุมการสร้าง

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลกบนดาวอังคาร เป็นต้น

บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล เป็นประจะทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งมำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก

ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า " เฟรนไซน์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการ ให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำ - ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการ online ระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้นๆ เพื่อสามารถตัดยอดบัญชีได้ เป็นต้น

บทบาทคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับ และจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร

ในยุคปัจจุบัน เราเรียกว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่ามีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในเคร ือข่ายสาธาระณะที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ และยังมีโปรแกรมที่สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันใช้คุยกัน หรือจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกับเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการส่ง pager ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น
ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางโทรคมนาคมจะเห็นว่าปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบินจะมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทาง Internet ด้วยตนเอง เห็นได้ว่าเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการ และนอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ตามสายการบินต่างๆ เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบ การผลิตทั้งหมด
ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ ก็จะใช้ หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบนรถยนต์ เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฏร์ ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูล สถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์ เป็นต้น




ที่มา:Dital Library For SchoolNet

>> คอมพิวเตอร์กับศิลปะ




การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computeraided design) โดย นายเอกชัย ลีลารัศมี
มีชื่อย่อว่า แคด (CAD) เป็นการประยุกต์ของคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาผนวกกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (Computer aided manufacturing) ซึ่งมีชื่อย่อว่าแคม (CAM) เชื่อว่าในอนาคตการผนวกกันเข้านี้จะนำไปสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่เครื่องจักรไอน้ำและเครื่องจักรกลไฟฟ้าได้ทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมมาแล้วในอดีต ในอุตสาหกรรมยุคใหม่นี้ คอมพิวเตอร์จะมีบทบาทตลอดทุกขั้นตอนในการผลิต นับตั้งแต่การออกแบบจนถึงกระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย ทั้งนี้โดยอยู่ภายใต้ระบบการสั่งงานและควบคุมของมนุษย์

>> คอมพิวเตอร์กับการงานอาชีพและเทคโนโลยี

การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านเกษตรกรรม โดย นายศรีศักดิ์ จามรมาน และคนอื่นๆ
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเกษตรกรรมที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับนานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วยสำมะโนเกษตรนานาชาติซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประเทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยมีประเทศต่างๆ ร่วมเก็บข้อมูลรวม ๔๖ ประเทศ ต่อมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๓ องค์การอาหารและเกษตร (FAO) ก็รับงานต่อจากสถาบันการเกษตรโดยเก็บสถิติต่างๆ เช่น ขนาดที่ดิน เจ้าของที่ดิน การใช้ที่ดิน จำนวนคนและสัตว์ผลผลิตจากไร่นา ป่าไม้ และสัตว์น้ำ สำหรับ พ.ศ. ๒๔๙๓ นั้นมีประเทศและอาณาเขตร่วมโครงการด้วย ๕๒ ประเทศ และ ๕๔ อาณาเขต ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บรวบรวมนี้ ถ้าประเทศใดมีทุนพอก็ให้เก็บทั้งหมด ประเทศใดมีทุนไม่พอก็อาจจะใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง และวิธีอื่นๆ เมื่อรวมข้อมูลต่างๆ ได้แล้วก็จะต้องประมวลข้อมูล ซึ่งประเทศส่วนมากต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วย สำหรับการจัดทำสำมะโนเกษตรในประเทศไทยนั้น เดิมสำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำและใช้คอมพิวเตอร์ของสำนักงานช่วยในการประมวลผล แต่ต่อมาได้มีการพิจารณาที่จะแยกงานสำมะโนเกษตรออกมาต่างหากจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อาจจะจัดทำเอง

นอกจากจะเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์แบบสำมะโนเกษตรแล้ว ยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลองพยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร เช่น ถ้าจะมีความต้องการข้าวเหนียวจำนวนหนึ่ง ถ้ามีตัวเลขจำนวนพื้นที่สำหรับปลูกข้าวเหนียวและอัตราผลผลิตต่อไร่ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ มีผลการพยากรณ์อากาศ และมีข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมอยู่ ก็จะพยากรณ์ได้ว่ามีผลผลิตเท่าใด

ถ้าเกิดปรากฏการณ์นอกสภาพที่คาดคะเนไว้เช่น เกิดโรคระบาด เกิดฝนแล้งหรือน้ำท่วม ผิดแผกแตกต่างไปจากที่พยากรณ์ไว้ ก็รับส่งข้อมูลใหม่ให้เครื่องช่วยพยากรณ์ได้ตัวเลขใหม่ออกมา ถ้าน้อยกว่าความต้องการก็หาทางป้องกันแก้ไข เช่น ห้ามส่งข้าวเหนียวที่เหลือจากปีก่อนออกนอกประเทศ ปีนี้จะได้มีบริโภคภายในประเทศอย่างเพียงพอ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้แบบจำลองอีกอย่างหนึ่ง ที่กำลังจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในประเทศไทยก็คือ โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นในภาคเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเครื่องหนึ่ง

โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิฟอร์ด เพื่อใช่ช่วยประมวลผลในโครงการดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะหาพืชพันธุ์ต่างๆ ๓ ชนิดมาปลูกแทนฝิ่น ให้ชาวบ้านมีรายได้ดีเท่ากับปลูกฝิ่นถ้าไม่ใช่แบบจำลองช่วยก็อาจจะต้องทดลองทำจริง สิ้นเปลืองงบประมาณ สิ้นเปลืองเวลามากมายกว่าจะทราบผลถ้าใช้แบบจำลองช่วยก็อาจต้องปลูกจริงเฉพาะในกรณีตัวอย่างถ้าพื้นที่แบบนี้ ขนาดนี้ และฤดูนี้ปลูกพืชชนิดใด ใช้กำลังคนเท่าใด กำลังเครื่องจักรเท่าใด ใช้ปุ๋ยเท่าใด ใช้น้ำเท่าใดและจะได้ผลอย่างใด เป็นต้น

>> คอมพิวเตอร์กับคณิตศาสตร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยงานทางด้านการคำนวณทำให้การคำนวณเป็นเรื่องง่ายสะดวกด้วยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นการใช้เพื่อที่จะหาคำตอบหรือทดลองเพื่อให้ได้คำตอบ เช่น แบบจำลองการซื้อสินค้าบนตารางการคำนวณ (spread sheet) ดังตัวอย่างเช่น

จะเห็นว่า จากรายการซื้อสินค้านี้ถ้าเปลี่ยนไปจำนวนมะม่วงไปจาก 5 ผล เป็น 8 ผล ข้อมูลตัวเลขในตารางจะเปลี่ยนไป ดังนั้นเราจะใช้ตัวแปรแทน ลองดูจากตาราง
ดังนั้นจากแบบจำลองนี้ ถ้าเปลี่ยนแปลงค่าใดลงบนตาราง การคำนวณเพื่อหาคำตอบก็จะเกิดขึ้นได้ ตารางคำนวณเช่น spread sheet จึงเป็นตารางที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนรูปแบบทางคณิตศาสตร์ได้แบบหนึ่ง


ในการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จึงมีขั้นตอนการนำไปใช้ดังนี้





>> คอมพิวเตอร์กับภาษาต่างประเทศ

เรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อ โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถด้านภาษาได้

BELIEVE IT OR NOT!

English language learning is easy and fun when you combine COMPUTER and LANGUAUAE together.
CLICK HERE for FUN

ลองมาทดสอบภาษาต่างประเทศด้วยคอมพิวเตอร์อย่างง่ายกันดีกว่า คลิ๊กเลย!


History of computing hardware

Computers can be separated into software and hardware. Computing hardware is the physical machine that, under the direction of a program, stores and manipulates data. Originally, calculations were done by humans, who were called computers, as a job title. This article covers major developments in the history of computing hardware, and attempts to put them in context. For a detailed timeline of events, see the computing timeline article. The history of computing article treats methods intended for pen and paper, with or without the aid of tables. Since digital computers rely on digital storage, and tend to be limited by the size and data storage is tied to the despeed of memory, the history of computer velopment of computers.

A computer is a machine that manipulates data according to a list of instructions.

Computers take numerous physical forms. The first devices that resemble modern computers date to the mid-20th century (around 1940 - 1945), although the computer concept and various machines similar to computers existed earlier. Early electronic computers were the size of a large room, consuming as much power as several hundred modern personal computers. Modern computers are based on comparatively tiny integrated circuits and are millions to billions of times more capable while occupying a fraction of the space.


Today, simple computers may be made small enough to fit into a wristwatch and be powered from a watch battery. Personal computers in various forms are icons of the Information Age and are what most people think of as "a computer"; however, the most common form of computer in use today is the embedded computer. Embedded computers are small, simple devices that are used to control other devices — for example, they may be found in machines ranging from fighter aircraft to industrial robots, digital cameras, and children's toys.


The ability to store and execute lists of instructions called programs makes computers extremely versatile and distinguishes them from calculators. The Church–Turing thesis is a mathematical statement of this versatility: any computer with a certain minimum capability is, in principle, capable of performing the same tasks that any other computer can perform. Therefore, computers with capability and complexity ranging from that of a personal digital assistant to a supercomputer are all able to perform the same computational tasks given enough time and storage capacity.

>> คอมพิวเตอร์กับสังคมศึกษา

การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านกฎหมายและการปกครอง โดย นายศรีศักดิ์ จามรมาน และคนอื่นๆ
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้ปัญหาด้านกฎหมายที่น่าจะมีประโยชน์มากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ การใช้ในงานระบบข้อมูลทางกฎหมาย ในงานนี้เราต้องนำตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. กฎ ก.ม. กฎ ก.ต. ประกาศต่างๆ ฯลฯ สรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด


หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ๑. ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ผลให้ ๒. ต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ให้คอมพิวเตอร์ช่วยค้นหาให้ เช่น ในสหรัฐอเมริกาเคยมีกรณีภรรยาอยากทราบว่า สามีบีบหลอดยาสีฟันตรงกลางหลอดทุกที อ้อนวอนขอร้องอย่างไรก็ไม่ยอมบีบตรงก้นหลอดอย่างนี้แล้วจะฟ้องหย่าได้หรือไม่ ถ้าให้ทนายไปค้นหลักฐานคดีเก่าๆ ก็จะเสียเวลานับเป็นวันๆถ้าใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาเป็นนาที
ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ มีหน่วยงานของรัฐบาลกลางของรัฐ ศาล และคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในงานระบบข้อมูลด้านกฎหมายอย่างเต็มที่มากกว่า ๕๐ แห่ง เช่น แอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนได้นำกฎหมายต่างๆเข้าคอมพิวเตอร์ไว้รวมแล้วกว่า ๒๐๐ ล้านคำ ในแคนาดามีรัฐแมนิโทบา (Manitoba) ที่ใช้คอมพิวเตอร์เก็บตัวบทกฎหมายของรัฐทั้งหมดไว้ในแถบแม่เหล็กเมื่อจะพิมพ์หรือจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำทั้งสิ้น

ในอังกฤษมีบริการให้ทนายเช่าพิมพ์ดีดคอมพิวเตอร์ไว้ในสำนักงาน เสียค่าเช่าเดือนละประมาณ ๒,๐๐๐ บาทบวกค่าเวลาคอมพิวเตอร์ เมื่อมีปัญหาใดก็พิมพ์คำถามเข้าคอมพิวเตอร์ จะได้รับคำตอบในเวลาเป็นนาที

ในฝรั่งเศสและเบลเยียมมีบริการคอมพิวเตอร์ให้ทนายถามปัญหาได้ ในราคาปัญหาละเพียง ๓๐-๕๐ บาทเท่านั้น แต่ในกรณีนี้ผู้ถามจะส่งคำถามไปที่ศูนย์ตอบปัญหาทางกฎหมายซึ่งมีเทอร์มินัลใช้ เจ้าหน้าที่ศูนย์จะพิมพ์คำถามเข้าเครื่อง เมื่อเครื่องพิมพ์คำตอบแล้วจึงส่งคำตอบไปให้ผู้ถามทางไปรษณีย์หรือโทรพิมพ์

ในรัสเซียก็ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านกฎหมายตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยสถาบันกลางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางกฎหมาย (Central Scientific research Institute for Legal Matters)ในระดับนานาชาติก็ได้มีการตั้งสมาคมเอกสารกฎหมายนานาชาติ (International Association of Legal Documentation-Interdoc) ขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๒โดยมีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งในบรรดาหลายข้อว่า จะจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อข้อมูลทางกฎหมายระหว่างชาติขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกฎหมายก็คือ เรื่องพยานหลักฐาน ในอังกฤษมีพระราชบัญญัติพยานหลักฐานทางกฎหมาย (Criminal EvidenceAct of 1965) เป็นกฎหมายฉบับแรกในโลกที่ยอมให้ใช้หลักฐานจากคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานทางกฎหมายได้ กฎหมายฉบับนี้ระบุว่าในกรณีที่พยานไม่สามารถให้ปากคำได้ โดยเหตุเพราะอยู่ต่างประเทศ ตาย วิกลจริตหายสาบสูญ หรือความจำเสื่อม ให้ใช้หลักฐานที่ได้บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานตามปกติ มาเป็นพยานหลักฐานได้ เช่น ถ้ามีการซื้อขายรถ โดยการจ่ายเช็คเข้าธนาคารซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ ต่อมาเกิดการสืบสวนสงสัยว่าจะเป็นรถเถื่อน ต้องการทราบราคาซื้อขาย ก็อาจใช้เอกสารที่ธนาคารบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ ทางด้านการปกครองนั้นก็อาจจะเริ่มตั้งแต่รัฐบาลอันที่จริงแล้ว ผู้สนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสนใจสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาก็คือรัฐบาลนั่นเอง เริ่มตั้งแต่รัฐบาลอังกฤษให้เงินสนับสนุนสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็สนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆช่วยกันสร้างคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันรัฐบาลอังกฤษก็ยังสนับสนุนคอมพิวเตอร์อยู่โดยเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทไอซีแอล (ICL)และบังคับให้หน่วยราชการใช้เครื่องของไอซีแอล ส่วนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็จัดตั้งสำนักงานกิจกรรมคอมพิวเตอร์ (Office of Computer Activities) ขึ้นในมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยด้านคอมพิวเตอร์มากมาย รัฐบาลญี่ปุ่นก็มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง รัฐบาลรัสเซียและรัฐบาลจีนก็พยายามแสวงหาวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจใช้คอมพิวเตอร์ได้ก็คือ การเลือกตั้ง ในสหรัฐอเมริกามีหลายรัฐที่มีเครื่องลงคะแนนเสียงโดยกดเข้าคอมพิวเตอร์ พอถึงเวลาปิดการลงคะแนนคอมพิวเตอร์ก็บอกให้ได้ทันทีว่า ผู้สมัครคนใดได้คะแนนเท่าใด ในบ้านเราก็ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลการเลือกตั้งหลายครั้งแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะใช้เพิ่มขึ้น เมื่อเลือกตั้งกันเรียบร้อยแล้ว ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วยในการจัดตั้งรัฐบาล

ตัวอย่างเช่น ในการจัดตั้งรัฐบาลมีข้อเรียกร้องต่อรองต่างๆ มากมาย ในชุดคำสั่งอาจสมมติให้ผู้ใหญ่ในแต่ละพรรคเสนอ เช่น นาย ก. ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วต้องให้นาย ข. เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมหรือกระทรวงมหาดไทย นาย ข. จะยอมเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ถ้านาย ค. หรือนาย ง. เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม และถ้านาย จ. ไม่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทยส่วนนาย ค. ต้องเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรม หรือรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และต้องการอย่างอื่นๆ อีกหลายข้อ ทุกคน ทุกพรรคก็มีข้อเรียกร้องมีข้อต่อรองกันมากมายนอกจากนี้ ยังมีหลักการกว้างๆ อีก เช่น รัฐมนตรีว่าการและช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะต้องมีวุฒิอย่างน้อยจบปริญญาตรี รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นศาสตราจารย์ได้ก็ดี รวมแล้วมีข้อเรียกร้องต่างๆ เป็นร้อยๆ ข้อถ้าผู้มีหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลให้คอมพิวเตอร์ทำก็ใช้วิธีที่เรียกว่าซีโรวัน (zero-one programming) คอมพิวเตอร์จะพิมพ์บอกออกมาให้ว่าข้อต้องการต่างๆ ทั้งหมดนั้นมากเกินไปทำไม่ได้จะต้องยอมยกเลิกบางข้อบ้าง เช่น ถ้านาย ก. และนาย ข. ต่างก็ต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งคู่ และไม่ยอมรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดแทนเลย คอมพิวเตอร์ก็ต้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ต้องให้ทั้งนาย ก. และนาย ข. หรืออย่างน้อยก็ ๑ ใน ๒ คนนั้นยอมรับตำแหน่งรองนายก.หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่สำคัญ หรือเรียกร้องตำแหน่งให้ลูกพรรคเพิ่มขึ้น ถ้าข้อเรียกร้องทั้งหมดทั้งปวงมีทางทำให้ทุกคนพอใจได้ คอมพิวเตอร์ก็จะเสนอคณะรัฐบาลหลายๆ ชุด แต่ละชุดทำให้ทุกคนพอใจได้หมด บางคนก็ได้ตำแหน่งที่ตนเลือกเป็นอันดับ ๑ บางคนก็ได้ตำแหน่งที่ตนเลือกเป็นอันดับ ๒ หรืออันดับ ๓ แต่อย่างน้อยทุกคนก็ได้ตำแหน่งตามที่เลือกไว้ ต่อจากนั้น บุคคลผู้มีอำนาจได้รับมอบหมายให้จัดตั้งรัฐบาล ก็จะเลือกคณะรัฐมนตรีชุดใดชุดหนึ่งตามความพอใจของตน โดยอาจใช้เหตุผลส่วนตัวที่ไม่ต้องการเปิดเผยให้ผู้ใดทราบมาประกอบการตัดสินใจได้ เมื่อตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว หากมีโครงการใดเป็นพิเศษ เช่น การจัดสรรที่ดิน การออกโฉนดให้ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยได้ ถ้ามีโครงการผันเงินไปช่วยตำบลหรือชนบทต่างๆอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจดประวัติ ลงทะเบียน และให้ข้อมูลในการคัดเลือกโครงการและเพื่อการติดตามประเมินผล เป็นต้น โดยสรุปแล้วรัฐบาลก็คล้ายๆ กับคณะผู้จัดการบริษัทใหญ่ๆ บริษัทใหญ่ๆ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานช่วยในการบริหารกิจการให้ได้ผลรวดเร็วคุ้มค่าฉันใด รัฐบาลก็ควรจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารบ้านเมืองให้ได้ผลดีแก่ประชาชนและประเทศฉันนั้น ส่วนด้านการปกครองท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร หรือกทม. ก็ได้ดำเนินการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บภาษีโรงเรือนให้ได้ผลดีขึ้น

ในต่างประเทศบางแห่งได้ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินเพื่อวิเคราะห์รายรับรายจ่าย ควบคุมงบประมาณ และทำบัญชีต่างๆ ทางด้านการศึกษาประชาบาลได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเก็บประวัติเด็ก ช่วยพยากรณ์ว่าปีต่อไปจะต้องเพิ่มห้องเรียน เพิ่มครูหรือไม่อย่างไร หนังสือเรียนที่พิมพ์ไว้แล้วยังเหลือเท่าใด ควรจะเปลี่ยนเป็นเล่มใหม่หรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแล้วจะต้องเริ่มพิมพ์เมื่อใดจึงจะพิมพ์ได้ทันโรงเรียนเปิดเทอม และทางด้านสาธารณสุขก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนยาที่ใช้ในการปลูกฝีฉีดยา ในการควบคุมโรคระบาดต่างๆ เป็นต้น

>> คอมพิวเตอร์กับสุขศึกษาและพลศึกษา

การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์เข้าช่วยผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล โดย นายวิชัย ศังขจันทรานนท์
ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล หากได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ได้มีการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ช่วยในการแจ้งสภาวะของร่างกายบางประการ เช่น อุณหภูมิของร่างกาย ชีพจร การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด และการหายใจ เป็นต้น ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาลตามสายโทรศัพท์ โดยอาศัยหลักการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์นี้จะแสดงผลให้ทางโรงพยาบาลทราบได้ทันที ถ้ามีรายการใดผิดปกติ แพทย์ก็จะให้คำแนะนำกลับไปสู่ผู้ป่วยที่บ้านโดยตรงหรือโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์

>> คอมพิวเตอร์กับวิทยาศาสตร์

การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านวิทยาศาสตร์ โดย นายศรีศักดิ์ จามรมาน และคณะ
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์(nuclear physics or particle) ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารเรียกว่า อนุภาค (particle) และศึกษาค้นคว้าว่าอนุภาคที่เล็กที่สุดนี้สามารถรวมตัวกันเป็นสสารชนิดต่างๆ กันได้อย่างไร ด้วยแรงอะไรบ้าง วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาธรรมชาติของอนุภาคเหล่านี้จำเป็นต้องมีวิธีการแตกหรือแยกสสารต่างๆ ออกเป็นส่วนเล็กที่สุดคือ แยกจากสสารเป็นโมเลกุลแล้วเป็นอะตอม และในที่สุดเป็นอนุภาค วิธีศึกษาการแตกตัวของอะตอมนั้นใช้การถ่ายภาพปรากฏการณ์การเกิดอนุภาคนั้นๆ ในเครื่องมือพิเศษที่จัดขึ้นซึ่งเรียกว่า บับเบิลแชมเบอร์ (bubble chamber)และสปาร์กแชมเบอร์ (spark chamber) ในการถ่ายภาพของการทดลองแต่ละครั้ง ต้องถ่ายเป็นจำนวนแสนๆ ภาพจึงจะได้ข้อมูลเพียงพอในการศึกษาคุณสมบัติของอนุภาคนั้นๆจากนั้นจึงนำเอาข้อมูลนี้ไปวัดและคำนวณประมวลผล สมมติว่าถ้าใช้คนหนึ่งคนนั่งวัดและคำนวณวันละ ๘ ชั่วโมง จะต้องใช้เวลาทั้งหมดประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปี แต่ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจะสามารถทำได้เร็วขึ้นมากเช่น ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ๑ เครื่องจะคำนวณทั้ง ๑๐๐,๐๐๐ กรณีให้แล้วเสร็ได้ในเวลาประมาณ ๑๑๒ ปี ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง๒ เครื่องจะสามารถแล้วเสร็จในเวลาไม่ถึงปี ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ก็จะสามารถทำแล้วเสร็จภายในเวลา ๓-๔ เดือนเท่านั้น


ตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ก็คือ คริสทัลโลกราฟี (crystallography) วัตถุประสงค์ของวิชานี้คือ เพื่อศึกษาว่าอะตอมของผลึกของสสารต่างๆ มีโครงสร้างในโมเลกุลเป็นอย่างไรบ้าง ความรู้นี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงทางด้านการแพทย์ เคมี และชีววิทยา โดยทั่วไปการจัดเรียงตัวของอะตอมของผลึกแต่ละชนิดย่อมมีแบบแผนและคุณสมบัติประจำตัวของแต่ละผลึกอยู่แล้ว เมื่อฉายรังสีเอกซ์หรือเอกซเรย์ผ่านผลึกนั้น ก็ย่อมจะได้ภาพในฟิล์มเอกซเรย์เป็นแบบแผนเฉพาะของผลึกนั้นฉะนั้นวิธีการศึกษาโครงสร้างของอะตอมของผลึก จึงเป็นการฉายแสงเอกซเรย์ผ่านผลึกแต่ละชนิด และถ่ายภาพเป็นฟิล์มเอกซเรย์เก็บไว้เพื่อการเปรียบเทียบแบบแผนของภาพว่าแบบแผนใดควรจะมีโครงสร้างของอะตอมในโมเลกุลอย่างไรการเปรียบเทียบจึงเป็นแบบที่ต้องลองแล้วลองอีก (trial and error) คือ สมมติว่าอะตอมหนึ่งอยู่ ณ จุดหนึ่ง อีกอะตอมหนึ่งอยู่ ณ อีกจุดหนึ่ง สมมติไปครบทุกอะตอม ซึ่งอาจจะรวมถึง ๑๐๐ อะตอมก็ได้ แล้วคำนวณว่าถ้าอะตอมต่างๆอยู่ ณ จุดต่างๆ นั้น จะได้แบบแผนเป็นภาพเอกซเรย์อย่างไรนำภาพจากการคำนวณนี้มาเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายได้จริงของผลึกนั้นๆ ถ้าไม่เหมือนกันก็กลับไปเปลี่ยนหรือโยกย้ายตำแหน่งของอะตอมต่างๆ แล้วคำนวณหาแบบแผนของภาพอีกครั้ง แล้วเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายได้จริงอีกทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ผลและโครงสร้างที่ถูกต้องซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจจะต้องทำเป็นร้อยๆ ครั้ง จึงจะได้ผลที่ต้องการ โดยปกติแล้ว ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะต้องใช้เวลาคำนวณโดยคอมพิวเตอร์ประมาณ ๑๐ ชั่วโมงถ้าใช้คนคำนวณด้วยเครื่องคิดเลขจะต้องใช้เวลาประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ชั่วโมง หรือประมาณ ๑๑๐ ปี


ตัวอย่างที่ ๓ ของการใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็คือ ในการศึกษาทางเคมี นิสิตนักศึกษาต้องปฏิบัติการทดลองในมหาวิทยาลัย ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีบางครั้งอาจเกิดการระเบิด มีคนบาดเจ็บขึ้นได้ ที่เกิดขึ้นเสมอๆ ก็คือหลอดแก้วแตก หรืออย่างน้อยที่สุดก็สิ้นเปลืองสารเคมีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนี้ ในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์แทนการทดลองจริง แบบที่เรียกว่า ห้องทดลองแห้ง วิธีปฏิบัติก็คือ ให้นักเรียนพิมพ์บอกคอมพิวเตอร์ว่าจะเอาสารอะไรผสมกัน แล้วดูภาพสีที่จอโทรทัศน์คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพบนจอให้เห็นขั้นตอนการทดลอง เช่น ถ้าใช้กรดผสมกับด่างก็จะเห็นเป็นภาพการปล่อยให้กรดค่อยๆหยดลงบนด่าง เกิดเกลือให้เห็นชัดเจนเหมือนทดลองจริงถ้ามีการใส่สารผิดก็มีภาพการระเบิดให้เห็นด้วยโดยคนดูไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย เป็นต้น ในเมืองไทยขณะนี้ ยังไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในทางวิทยาศาสตร์มากเท่ากับในต่างประเทศ จะมีบ้างเพียงเล็กน้อยในมหาวิทยาลัย ต่อไปหากเรามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ละโรงเพื่อทำการวิจัยและวัดผลให้ได้รวดเร็วตลอดเวลา ในต่างประเทศมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณด้านคณิตศาสตร์ต่างๆ มากมาย เช่น ใช้หาค่าของ p เป็นทศนิยมถึง ๒๐๐-๓๐๐ ตำแหน่ง ใช้ในการคำนวณและพิมพ์ตารางคณิตศาสตร์ต่างๆ ใช้ในการแก้ปัญหาที่เป็นสมการแบบต่างๆ ใช้ในทางสถิติ และใช้ในทางคอมพิวเตอร์ศาสตร์เอง เป็นต้น ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีคณะคณิตวิทยาศาสตร์ (Mathematical Science) ซึ่งแบ่งออกเป็นภาควิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) ภาควิชาสถิติ (Statistics) และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ComputerScience) สำหรับบ้านเรานั้น ใน พ.ศ. ๒๕๒๙ มีการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์เกือบทุกมหาวิทยาลัย ฉะนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น


ในการศึกษาทางเคมี การปฏิบัติการทดลองโดยไม่ระมัดระวัง บางครั้งอาจเกิดการระเบิดเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ ในบางประเทศจึงมีการทดลองโดย


ในประเทศอุตสาหกรรมมักจะติดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ในเครื่องใช้หรือยานพาหนะ เช่น รถยนต์ เป็นต้น

>> คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย

การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์
ในยุคสารสนเทศ (Information age) นี้ ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนสามารถเสาะแสวงหาหรือในทางกลับกัน ก็สามารถเผยแพร่ให้บุคคล ทั่วไปได้รับทราบถึงข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง การส่งและการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาษาไทยนับว่ามีความสำคัญต่อทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการหรือด้านธุรกิจทั้งนี้เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยความสะดวกโดยไม่จำกัดเพศ หรือการศึกษา โดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการติดต่อ


เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการศึกษาและการประกอบอาชีพมากขึ้น ความต้องการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลภาษาไทยไปจนถึงสามารถเข้าใจภาษาไทย และโต้ตอบด้วยภาษาไทยได้ก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ในบทนี้จึงได้นำเสนอความรู้เรื่องการประมวลผล และการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เรื่องการประมวลผลอักขระ (Character processing)การประมวลผลคำ (Word processing) การประมวลผลข้อความ (Text processing) ไปจนถึงการประมวลผลภาพ (Image processing) ของภาษาไทย เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการเรียนรู้เรื่องนี้


เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการรับข้อมูล แสดงผลข้อมูล และพิมพ์ข้อมูลมากขึ้น จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนในยุคสารสนเทศนี้ การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์จึงได้รับการทำวิจัยและพัฒนาให้สามารถประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ได้ด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์(Computer Engineering) ผสมผสานกับเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ(Natural Language Processing) ทางด้านการประมวลผลภาพ (Image Processing) และความรู้ทางภาษาศาสตร์ (Linguistics) ด้วยความหวังว่าจะสามารถทำวิจัยและพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทยด้วยฐานความรู้ภาษาไทยทั้งด้านอักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์อรรถศาสตร์ รวมทั้งฉันทลักษณ์ได้



ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (๒๕๓๔) ได้เขียนไว้ใน คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย : การพัฒนามาตรฐานเบื้องต้นสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยเรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาษาไทยทั้งทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ และยังได้แสดงให้เห็นแผนผังภาพรวมของการศึกษาวิจัยทางภาษาไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ แกน คือ แกนนอนเป็นการแจกแจงความเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ส่วนแกนตั้ง เป็นความนึกคิดส่วนผิวและส่วนลึก(ดูแผนผัง ๑ ประกอบ) ดังนั้น การที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ภาษาไทยได้ทุกศาสตร์และสาขาวิชาตามนี้ ก็ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้นอีกมาก เพื่อที่จะได้โยงศาสตร์ ๒ ศาสตร์นี้เข้าด้วยกัน


เมื่อได้รวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาเท่าที่ผ่านมา ก็พบว่า มีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้สนใจที่จะศึกษาค้นคว้าทำวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง เพื่อให้ผู้ใช้คนไทยสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งหมายรวมตั้งแต่การประมวลผลอักขระ คำข้อความ ไปจนถึงการประมวผลภาพภาษาไทยในบทนี้จะอธิบายโปรแกรมการประมวลผลบางโปรแกรม เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานให้สามารถเข้าใจเรื่องการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมเหล่านี้ ได้แก่ โปรแกรมการเรียงลำดับคำไทย โปรแกรมตัดคำภาษาไทยโปรแกรมการสืบค้นคำไทย โปรแกรมการสืบค้นคำไทยตามเสียงอ่าน โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมรู้จำอักขระไทยด้วยแสง เป็นต้น